เกี่ยวกับ
ชุดฝึกเครื่องวัดฝุ่น PM 2.5 ในโรงเรียน
(Air-Squid)
หลักการเหตุผล
ปัญหาหมอกควันและฝุ่น PM 2.5 นับเป็นปัญหาหลักในภาคเหนือโดยเฉพาะช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยว มีการเผาเศษวัชพืชทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมา หมอกควันกระทบต่อคุณภาพชีวิต สุขภาพของคน และเศรษฐกิจภาคเหนือในวงกว้าง สถิติจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคผิวหนัง และโรคที่เกี่ยวกับดวงตาเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ครัวเรือนมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น ทั้งค่ารักษาพยาบาลและค่าซื้ออุปกรณ์ป้องกันมลพิษ
ทางองค์การแพลนอินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น จึงเกิดแนวความคิดที่จะผลิต พัฒนาชุดฝึกเครื่องวัดฝุ่น PM 2.5 ในโรงเรียน โดยจัดทำเป็นชุดการสอนอันประกอบด้วยคู่มือการจัดการเรียนการสอน อุปกรณ์ แบบทดสอบ ใบงานและคู่มือครู เพื่อเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนในการได้เรียนรู้หลักการทำงานเบื้องต้นของเครื่องวัดฝุ่น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในโรงเรียนให้เหมาะสมกับบริบทสภาพแวดล้อมของโรงเรียน อีกทั้งยังสามารถวิเคราะห์ ประมวลผลเป็นค่าสถิติต่าง ๆ สำหรับนำไปแสดงผลในระบบออนไลน์ได้ ทำให้สามารถตรวจสอบค่าฝุ่นได้จากทุกที่ ทุกเวลา สามารถพัฒนาต่อยอดเป็นระบบอินเทอร์เนตในทุกสรรพสิ่ง IoT เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปวางแผน ประเมิน และผลิตนวัตกรรมเพื่อป้องกันฝุ่นพิษในโครงการระยะต่อไป
วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
- 1. เพื่อพัฒนาชุดฝึกเครื่องวัดฝุ่น PM 2.5 ในโรงเรียน
- 2. เพื่อพัฒนาระบบรายงานและประมวลผลค่าฝุ่นออนไลน์
- 3. เพื่อวิเคราะห์อุปสรรค ปัญหาในการจัดทำชุดฝึกฯ และนำมาปรับปรุง
วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดผลลัพธ์
วัตถุประสงค์ | ตัวชี้วัดผลลัพธ์ | |
---|---|---|
1 | เพื่อพัฒนาชุดฝึกเครื่องวัดฝุ่น PM 2.5 ในโรงเรียน | ได้ชุดฝึกเครื่องวัดฝุ่นฯ จำนวนอย่างน้อย 3 ชุด |
2 | เพื่อพัฒนาระบบรายงานและประมวลผลค่าฝุ่นออนไลน์ | ได้ระบบรายงานฯ 1 ระบบ |
3 | เพื่อวิเคราะห์อุปสรรค ปัญหาในการจัดทำชุดฝึกฯ และนำมาปรับปรุง | ได้รายงานผลการวิเคราะห์ปัญหาการจัดทำระบบฯ พร้อมแนวทางแก้ไข |
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนและครู จำนวน 3 โรงเรียน
พื้นที่ดำเนินงาน
ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายและโรงเรียนร่วมเครือข่ายโรงเรียนปลอดภัยรอบด้าน
กลุ่มเป้าหมาย
หลักจบโครงการจะมีการดำเนินการติดตั้ง ทดสอบระบบ และให้ความรู้ในการใช้งานระบบแก่โรงเรียนต้นแบบจำนวน 3 โรงเรียน มีการดำเนินการตรวจสอบ ทดสอบ ดูแล รายงานผลการทำงาน เป็นระยะเวลา 1 ปี
มีการขยายผลจากการดำเนินโครงการไปสู่โรงเรียนอื่น ๆ ในขอบเขตที่กว้างขึ้น โดยเฉพาะโรงเรียนที่มีปัญหาด้านหมอกควันพิษ ในปริมาณมาก โดยเฉพาะโรงเรียนในภาคเหนือตอนบน